การทำ บลูสกรีน-กรีนสกรีน ตอนที่ 1 |
![]() |
เขียนโดย Administrator |
วันศุกร์ที่ 17 เมษายน 2015 เวลา 14:09 น. |
การทำ บลูสกรีน-กรีนสกรีน Green Screenคือการซ้อนฉากหลังนั่นเอง ใช้ในหลายกรณี แต่เราต้องถ่ายด้วยฉากหลังพื้นสีเขียว สีน้ำเงิน หรือสีขาวก็ได้ ไปโหลดตัวอย่างคลิปได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=iu1gP7uluHs มีให้เลือกมากมาย ส่วนแบล็คกราวน์ด้านหลังก็ไปโหลดได้ที่ https://www.youtube.com/user/acterencom/videos ภาพคนเต้นพื้นขาว https://www.youtube.com/watch?v=PzR0n1VtjLM มีมากมายหาภาพที่เข้ากันได้มาลองทำดูตามบทความมาเลยครับ 1.วางภาพฉาหหลัง ไว้ที่ช่อง วิดีโอเลเยอร์ 1 2. วางภาพกรีนสกรีน ไว้บนฉากหลัง ,มาร์คอิน-เอ้าท์แล้วกด Q ,มันจะวางซ้อนให้เอง (ถ้าจำไม่ได้ให้กลับไปอ่านเครื่องมือในการตัดต่อ) จะเห็นเอฟเฟค Keyer เอาเมา้ท์จับช่องนั้นลากมาวางบนภาพพื้นเขียว
4.ปรับให้ขอบฟุ้งๆลดลง ไปช่อง Inspector คลิ๊กปุ่มในแถบเหนือ keyer หน้าตาช่อง inspector
รูปนี้ ใช้ปรับ สีที่กระจายทั่วๆไปในพื้นหลัง กรณีที่เราให้แสงมาไม่เสมอกัน ภาพพื้นหลังสีเขียวตัดออกไม่หมด รูปนี้ ใช้ปรับบริเวณขอบภาพ นิ้ว หรือส่วนเส้นผม ที่บางๆ ปรับเฉพาะจุด โดยการลากเม้าท์ ตางเส้นขวาง เข้าออกจากภาพ จะเป็นการช่วยเก็บรายละเอียดรอบตัวคน
แถวถัดลงมาที่เป็นภาพหัวคน 3 ช่อง ในแต่ละช่อง ใช้ดูภาพเนกติฟ ว่าเจาะดีหรือยัง ช่วยในหารปรับ คลิ๊กดูไปมาได้ทั้งสามปุ่ม
จะเห็นว่าเราสามารถขยายภาพขึ้นมาให้ดูรายละเอียดชัดเจนได้ และปรับขอบรอบๆตัวนักแสดงได้ หลายๆจุด ปุ่มสีแดงในภาพคือส่วนที่เราใช้เม้าท์จับภาพเลื่อนดู ในขณะปรับภาพได้ต่อไปเราต้องปรับสีของภาพให้เข้ากันกับฉากหลัง และปรับขนาดของภาพ ให้สมดูลย์กัน โดยใช้ color preset เข้ามาช่วย ปรับง่าย ไวปานวอกครับ
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2016 เวลา 11:56 น. |