การตัดต่อวิดีโอด้วย FinalCut pro X

เรียนเบสิคให้แน่น ที่นี่มีบทความฟรี สำหรับผู้เรียนทุกท่าน จะได้อ่านบทความและทริปดีๆ

เทคนิคขั้นแอดวานซ์ ฟรีตลอดชีพ เรียนตัวต่อตัว เจาะเฉพาะจุดที่ต้องการ

ใช้หาเลี้ยงชีพได้ตลอดชีวิตครับ



ขนาดของตัวหนังสือในหน้าจอทีวี PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันพุธที่ 01 เมษายน 2015 เวลา 16:19 น.

 ขนาดของตัวหนังสือในหน้าจอทีวี - TV  #Font#  #size#

มารตราฐานอยู่ที่  1: 25  หมายถึงอะไร


การขึ้นตัวหนังสือ ในหน้าจอ  ใช้ ขนาด 1 ต่อ 25 ของจอ ค้าง 5 วิ

แช่ค้างไว้อย่างต่ำ นานเท่าไหร่

TVC 15 วิ ชอต รายละเอียด 3วินาที
TVC 30 วิ ชอต รายละเอียด 4 วินาที

VTR 5 วินาที

โหลดภาพนี้

ไฟล์นามสกุล tif  ภาพโปร่งใส http://www.vdoschool.com/vdo/1.25_box.tif

โหลดแล้วเอา ภาพ ไปวางในหน้าจอตัดต่อ มันจะเป็นช่องๆ ให้ใส่ ตัวหนังสือ

ถ้ามีปัญหาในการโหลดหรือลิงค์เสีย คอมเม้นท์บอกได้ที่

https://www.facebook.com/FinalCutTutor


ขนาดตัวหนังสือ รวมสระบนล่างแล้ว ต้องไม่เล็กว่าช่องสีขาวๆ 


มันจะเป็นตาราง สุดจอบน จนขอบด้านล่าง มันจะ มี 25 ช่อง
ตัวหนังสือ ต้อง สูงเท่ากับ 1ช่องถึงจะผ่าน

เรียกว่า หนึ่งต่อ ยี่สิบห้า ของจอ ทีวี

ที่มา จากกระทู้

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=998432490174209&set=gm.913460085355468&type=1&theater

 

ขอขอบคุณคุณ Chang Santi รักในหลวง : สมาคมช่างตัดต่อ ( Thai VDO Editor ). ครับ

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2024 เวลา 13:25 น.
 
FCPX-บทที่ 4 -การใช้ compound Clip ตอนที่ 2 PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันพุธที่ 11 มีนาคม 2015 เวลา 10:34 น.

FCPX-การใช้ compound Clip ตอนที่ 2

เมื่อไหร่เราถึงจะใช้ Compound Clip  คอมปาว์นคลิป หรือ การกรุ๊ปคลิป

กรณีที่ 1 ใช้ในการเคลื่อนย้าย คลิปทั้งหมด พร้อมๆกัน คลิปไม่หลุดจากกัน เช่น กรณีดังภาพนี้ 


เราวาง แถบป้ายชื่อทั้งหมดทับไปบนภาพแล้วเห็นว่า ตำแหน่งไปทับเอาภาพวิดีโอ เราควรจะย้าย

แถบป้ายชื่อ ไปไว้ตรงตำแหน่งด้านบน ทั้งซ้ายหรือขวาจะดูดีกว่า  ก็ให้ ทำ คอมปาว์นคลิป ก่อนแล้ว

จับย้ายเพียงไฟล์เดียว ทั้งหมดก็จะ เลื่อนตามโดยไม่หลุดตำแหน่ง

กรณีที่ 2  ใช้ย่อคลิปทั้งหมดพร้อมๆกันตำแหน่งและสัดส่วนคงเดิม

ใส่ป้ายชื่อแล้ว ป้ายใหญ่มากทับหน้าตาผู้แสดง เราต้องการ ย่อ แถบป้ายชื่อทั้งหมด 

ก็ให้ทำการ Compound clip ก่อน แล้วจับย่อเพียงไฟลืเดียว คลิปที่กรุ๊ปไว้ทั้งหมด ก็จะย่อตาม

ขนาดและตำแหน่งก็จะยังคงเดิม  ดังภาพ แถบป้ายเดียวกัน ย้ายและย่อมาวางด้านซ้ายล่าง

 

กรณีที่ 3 .การใส่เอฟเฟคและ ทรานสิชั่น  ในการเปลี่ยนภาพ ทั้งหมดจะเปลี่ยนพร้อมกัน

และถ้าเราใส่เอฟเฟคใดๆก็จะมีผลทั้งกรุ๊ปทันที ไม่ต้องเสียเวลามานั่งทำเอฟเฟคทีละคลิป

ในภาพเราต้อง compound clip ก่อนแล้วใส่ เอฟเฟค ตัวอย่าง ใช้เอฟเฟคเบลอแล้วเลือนเข้าชัด - เลือนหาย


 ดังภาพ แถบป้ายชื่อจะค่อยๆเบลอเข้ามาแล้วชัด และค่อยๆเบลอออกไป พ้อมกันทั้ง 6 ชั้น ด้วยการใช้คำสั่งเดียว

จะมีผลทุกไฟล์ที่กรุ๊ปเอาไว้ 

และที่ดีเลิศพิเศษสุดๆ  ของการทำ compound clip ก็คือ

เราจะเห็นว่าคลิปทั้งหมดได้ถูกรวมกันไปแล้ว เหลือเพียง 1คลิป แต่เมื่อเราลองดับเบิ้ลคลิ๊กที่คลิป compound

มันจะขึ้น project ใหม่  และคลิปต่างๆที่รวมไว้ก็จะแตกออกมาเป็นชั้นๆเหมือนเดิม เราสามารถ แก้ไข

คลิปต่างๆในนั้น ได้อีกด้วย   โดยที่ไม่ต้องเซฟไฟล์หรือทำ คอมปาวน์ใหม่ เยี่ยมยอดไหมล่ะ

แก้ไขเปลี่ยน สี แก้คำใหม่ ไม่ต้องทำคอมปาวน์ใหม่ ทุกอย่างแก้ได้ และตำแหน่งล๊อค คงเดิมด้วย  มันดีจริงๆ



 ติดตามต่อตอนที่ 3 การทำ Compound clip  และการปรับแต่ง คอมปาวน์คลิป (เฉพาะผู้ลงทะเบียน )

ย้อนกลับไปดู ตอนที่ 1  พื้นฐานงานที่ทำให้เกิดการใช้  compound clip  (เฉพาะผู้ลงทะเบียน )

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2024 เวลา 13:32 น.
 
การตัดต่อตอนที่ 3.3 การทำกราฟฟิค เพื่อการตัดต่อวิดีโอ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 08:36 น.

การทำกราฟฟิค เพื่อการตัดต่อวิดีโอ

เราสารมารถออกแบบ โลโก้  ออกแบบแถบชื่อ อักษรต่างๆ  จากโปรแกรม Photoshop ได้  และเซฟ

เป็นไฟล์ที่โปร่งใส่ เช่นนามสกุล PNG จะใช้ ในการตัดต่อซ้อนภาพ ได้ และสำหรับไฟล์ PSD เมื่อเราอืมพอร์ต์

เข้าโปรแกรมFCP7 - FCP X - Premiere   ทั้งสามโปรแกรม จะมองเห็นไฟล์ภาพเป็น เลเยอร์ layer 

เช่นเดียวกัน แต่ละเลเยอร์ก็จะเป็นแถบวิดิโอ เรียงกันเป็นชั้นๆไป 

alt

ภาพนี้ เราออกแบบ ป้ายชื่อวิทยากร  ด้านขวามือจะเห็นเลเยอร์ เรียงเป็นชั้น ๆ

alt

เมื่อเราลากมาเข้าโปรแกรม Final Cut Pro X จะเห็นชื่อไฟล์ และมีชั้นเดียว 

alt

แต่เมื่อเราดับเบิ้ลคลิ๊กที่ไฟล์นั้น โปรแกรมจะขึ้นหน้าต่างใหม่  เห็นเป็น ชั้นวิดีโอเรียงกัน ไป

เราสามารถแก้ไขใหม่และจัดวางเรียง เลือกว่าจะเอาเลเยอร์ในเข้ามาก่อนหรือหลังได้ รวมทั้ง

ใส่คีย์เฟรมกำหนดการวิ่งของไฟล์ในแต่ละชั้นได้ 

การทำแอนนิเมชั่นจากโปรแกรมโฟโต้ชอปแล้วนำมาเข้าโปรแกรมตัดต่อวิดิโอ

alt

1.สร้างเฟรมให้เท่ากับขนาดของไฟล์วิดีโอ เลือก File > New

alt

2. Preset เลือกไปที่ Film& Video  Size HDTV 1080P - จะ /25 /29 เฟรม ก็ได้ขอให้ขนาดเท่ากัน

ตัวอย่างคือไฟล์ขนาด full HD 1920 X 1080

alt

3.เมื่อเราออกแบบงานแล้ว เราก็สร้างแอนนิเมชั่น ในช่องด้านล่างได้เลย  อย่าลืมให้ลบพื้นสีขาวออกหรือ

ปิดตาเลเยอร์พื้นหลัง ให้โปร่งใส ก่อนที่จะ export งาน

alt

4. เมื่อ เราทำแอนนิเมชั่นเสร็จแล้ว ให้เรา export งานออกไปเป็น mov ก็จะได้ภาพเป็นวิดิโอเคลื่อนไหว

และไฟล์เจาะทะลุ พื้นหลัง นำไปซ้อนภาพวิดีโอในโปรแกรมตัดต่อได้ 

เลือก  Files>Export > render Video 

alt

5. name ตั้งชื่อไฟล์  Select Folder เลือกโฟลเดอร์ที่จัดเก็บ Format Quick time

ตั้งค่าตามภาพได้เลย เสร็จแล้วไฟล์จะออกมาเป็น MOV และพื้นหลังโปร่งใส

alt


แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2016 เวลา 11:10 น.
 
บทที่ 10 ทำไตเติ้ล - FCP X ด้วยโปรแกรม Motion PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 09:46 น.

การทำไตเติ้ล ใน FCP X  ด้วยโปรแกรม Motion

ใน FCP X จะมีลิงค์ไปหาโปรแกรมโมชั่นโดยการ คลิ๊กขวา ที่ไตเติ้ล ที่เราต้องการนำมาใช้

กรณีที่เราต้องทำเป็นภาษาไทย ถ้าทำใน FCP X เวลา Export ไฟล์ ออกมา มักจะเพี้ยนเป็น

ภาษา ไทย อังกฤษ ปนกันมั่วไปหมด

 

ดังนั้น เราต้องไปทำจาก โปรแกรมโมชั่น เพื่อเรนเดอร์ไฟล์ออกมา

เป็น mov และโปร่งใส แบบ Transition จึงจะสามารถซ้อนกับภาพได้ และตัวไตเติ้ลไม่เพี้ยนภาษา -

ทำดังนี้ 

1. ที่หน้าจอ FCP X ไปที่หมวด Tittleคลิ๊กขวาที่แบบที่ต้องการทำ open in Motion

2. เครื่องจะเปิดโปรแกรมโมชั่นให้โดยอัตโนมัติ ถ้าไม่เห็นแถบ layer-video timeline -ให้ไปที่แถบเมนู window

ติ๊กถูกหน้าช่อง ดังกลาวก็จะได้ตามภาพ

3. การใส่ตัวอักษรเลือกช่องใน layer (1)  ที่เป้นแบบตัวหนังสือก่อน คลิ๊ก1ทีจะเห็นแถบเข้มตรงช่องที่เลือก

แล้วไปเปิดเมนู Inspector (2) จะเห็นตามภาพ ใส่ตัวหนังสือ ใหม่เลือก แถบ Text (3) และเลือกแถบ Format

(4) ดูด้านล่างจะมีช่อง (5) ให้กรอกตัวหนังสือ ตามต้องการ  --พิมพ์ข้อความลงไป

แล้วเลือกแบบอักษรและขนาดได้ที่กล่อง (6)

4.  เตรียมรูปภาพไว้ ลากรูปภาพลงไปในหน้าจอมองภาพได้เลย ควรย่อภาพไว้ก่อน ให้มีขนาด 2000 X 1500 pixels


5. เมื่อทำทุกอย่างเสร็จแล้ว จะเห็นว่าแบบอักษรที่โชว์ยังแสดงผิดเพี้ยนอยู่ ในโมชั่น 5 นี้ แบบ font ที่ใช้ได้

มี Sathu  แต่อย่างไรก็ตาม Thonburi ก็ใช้ได้ เมื่อเรนเดอร์งานออกมาแล้ว จะไม่เพี้ยน ดังภาพที่เห็น

6.ไฟล์ที่ได้จะเร็วมาก คือเทมเพลตนี้ให้เวลาทั้งหมดมาเพียง 10 วินาที แต่เราต้องการให้คลิปนี้ ยาวกว่านี้

แก้ไขโดย 


ตรงแถบกลางจะมีตัวเลขอยู่  ให้คลิ๊กขวาที่ช่องตัวเลขแถบกลาง เลือก show project duration 

7. เวลาของเดินคือ 10.07 วินาที ให้ดับเบิ้ลคลิ๊กเข้าไปตรงตัวเลข  สีจะเข้มขึ้น

8. เปลี่ยนตัวเลขเป็น 20.07 วินาที  เพิ่วเวลาอีก 10 วิ เราจะเห็น

9.เสร็จแล้วเอาเม้าท์ลากแถบสีน้ำเงินแต่ละแถบให้ให้ยืดออกไปจนสุด เต็มเวลา 20 วินาที 

ส่วนปุ่มสีแดงๆที่เห็นคือปุ่มการใส่เอฟเฟค เคลื่อนไหวต่างๆ ลองลากขยาย ดูเอฟเฟคจะเคลื่อนตาม

การเรียน motion ขั้นสูง จะมีคอร์ดให้เรียน ผู้สนใจโทรนัดหมายล่วงหน้าส่งข้อความได้ที่

www.facebook .com/finalCutTutorial

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2024 เวลา 13:33 น.
 
FCPX การตัดต่อตอนที่ 3.2 การใส่โลโก้และกราฟฟิค PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 22:38 น.

FCPX การตัดต่อตอนที่ 3.2 การใส่โลโก้และกราฟฟิค

 alt

1. ให้สร้างโลโก้ รายการ  และชื่อรายการ ออกแบบด้วยโฟโต้ชอป แล้วเซฟไฟล์ แยก

ในแต่ละเลเยอร์ เป็นไฟลืนามสกุล PNG  พื้นโปร่งเจาะทะลุ หรือจะเซฟเป็นไฟล์ PSD ก็ได้ แต่จะงงนิดหน่อย

แนะนำให้แยกชิ้นไปก่อน ถ้าชำนาญแล้วค่อยนำ PSD ไฟล์เข้าไปทำเคลื่อนไหวได้เลยไม่ต้องแยกชิ้น 

 alt

2.การตั้งค่า ขนาดงานใน Photoshop    ให้เลือกเป็น  Film&Video  Size HDTV 1080p  1920X1080 ไม่ต้องสนเรื่องเฟรม /29/25 ได้หมด ตั้งแล้วให้save Preset ไว้ใช้งาน  ตั้งชื่อว่า HDFull-size  ดังภาพ

 alt

3. จากนั้นออกแบบและเซฟ ไฟล์ ออกเปฌนไฟล์แต่ละเลเยอร์ ต่อ 1ชิ้นเพื่อ นำไปเล่นเอฟเฟคแต่ละชิ้นได้

alt

ดังภาพจะได้ไฟล์ที่ 1 รูปโลโก้   -  ไฟล์ที่ 2 รูปแแถบสีขาว  ไฟล์ที่3  รูปแถบสีเหลือง  - ไฟล์ที่4  รูปอักษร Final Cut X Tutor

และ ไฟล์ที่  5 อักษร www.vdoschool.com

alt

4. import ไฟล์ทั้ง หมด เข้าโปรแกรมfinal Cut Xแล้วลากไปวางเรียง ตามที่ออกแบบไว้ ตัวที่อยู่บนสุดจะทับ

ตังล่าง ลงมาตามขั้น ให้วาง เหลื่อมกัน ชิ้นละ 3 วินาที  

ตัวโลโก้ ต้องวางไว้บนแถบสีขาวและสีเหลือง  ในกรณีนี้ คือแถบที่ 3 เพื่อให้โลโก้ทับบนแถบสีทั้งสอง แต่โลโก้ ต้อง

วิ่งจากมุมซ้ายมือออกมาก่อน ดังนั้นโลโก้ จีงถูกเรียงไว้ด้านหน้าสุด ดังภาพ แถวที่ 3 เลื่อนไปหน้าสุด

และย่อด้านหลังให้เท่ากันทุกไฟล์ 

alt

เมื่อplay ดู ภาพโลโก้ก็จะขึ้นก่อน ตามมาด้วยแถบสีเหลือง แถบสีขาว ตัวอักษร Fina; Cut X Tutor และสุดท้าย www.vdoschool.com   แค่วางเหลื่อมกันภาพก็ค่อยๆเกิดตามลำดับ

ต่อไปเราจะมากดหนดคีย์เฟรมให้ภาพโลโก้ เคลื่อนจากมุมด้านซ้ายแล้ววิ่งมาหยุดในภาพ ตามตำแหน่งเดิม

โปรดติดตาม 3.4  การกำหนดให้โลโก้ เคลื่อนที่ไปมา หรือหมุน หรือ ค่อยๆเฟรดขึ้น

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2024 เวลา 13:30 น.
 
«เริ่มแรกย้อนกลับ12345678910ถัดไปสุดท้าย»

หน้า 10 จาก 12
สอนตัดต่อวิดีโอ รายบุคคล
เรียนตัดต่อ วิดีโอ เบสิคแน่น เรียนง่าย เป็นไว ราคาถูก เลือกเรียนได้เฉพาะในสิ่งที่ต้องการ เราสามารถให้คำแนะนำต่างๆ หลังจากจบบทเรียน ติดขัดช่วงใดโทรสอบถามได้ โปรแกรมที่เราสอน MAC & Windows - Finalcut Studio - Premiere Pro - After Effect - Motion ค่าเรียน 14,990 บาท -ฟรีค่าสมาชิก และฟรีหนังสือFCPX / Premiere / FCP 7 กรอกอีเมล์และระหัสที่ ส่งให้ ทางอีเมล์ เข้าอ่านบทความได้ฟรีทุกโปรแกรม ไม่ว่าจะเรียน FCP หรือ PR หรือ FCPX ท่านจะได้อ่านบทความฟรีๆ ทั้งหมด ผู้ที่สนใจอีเมล์มาที่ spycute@hotmail.com และแจ้งโอนเงิน ท่านจะได้รับระหัสเข้าอ่าน บทความทั้งหมดครับ กรุณาลงทะเบียน สำหรับนักเรียนทุกรุ่น อ่านบทความฟรี โอนแล้วแจ้งทางไลน์ 24 ชั่วโมง line Id : spycute@msn.com โทร : 0877174557
ลิขสิทธิ์ © 2024 www.vdoschool.com. สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
Joomla! เป็นซอฟท์แวร์เสรีภายใต้ลิขสิทธิ์ GNU/GPL License.
เว็บนี้ขับเคลื่อนด้วย จูมล่าลายไทย
 

Who's Online

เรามี 12 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

Advertisement

เรียนตัดต่อวิดีโอ - รายบุคคล
เรียนตัดต่อ วิดีโอ เบสิคแน่น เรียนง่าย เป็นไว ราคาถูก เลือกเรียนได้เฉพาะในสิ่งที่ต้องการ เราสามารถให้คำแนะนำต่างๆ หลังจากจบบทเรียน ติดขัดช่วงใดโทรสอบถามได้ โปรแกรมที่เราสอน MAC & Windows - Final cut pro x - Premiere Pro - Final cut 7 - After Effect - Motion -โปรแกรมแปลงไฟล์ภาพและเสียงต่างๆ ติดต่อสอบถาม โทร - 087 717 4557 อีเมล์ spycute@msn.com
Finalcut Tutor
Fackbook สำหรับสอบถาม เรียนตัดต่อวิดีโอ