เทคนิคพื้นฐานสำหรับนักตัดต่อวิดีโอ
ในการร้อยเรียงภาพต่างๆเข้าหากัน
เราจะใช้ตัวเชื่อมระหว่างคลิปแรกไปคลิปอื่นๆ
ด้วยเครื่องมือที่เรียกกันว่า
Transitions
ซึ่งมามากมายหลายแบบบางครั้งไม่รู้จะเอาแบบไหนดี
เลือกนานกว่าตัดต่อซะอีก
มีหลักการง่ายๆในการเลือกใช้ทรานสิชั่นดังนี้
1.กลุ่มทรานสิชั่นที่ให้ความรู้สึกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
Cut
: ไม่ต้องใส่ทรานสิชั่น
เราเรียกว่าคัตชน
หมายถึงตัดคลิปเรียงกันไปเลยไม่ต้องเชื่อมด้วยทรานสิชั่น
Smooth
zoom :
จะมีการเบลอแล้ววิ่งไปตามทิศทางต่างๆวิ่งเข้าหากันหรือผลักกันอย่างรวดเร็ว
รวมถึงหมุนภาพเข้าหากัน
เราสามารปรับสปีดให้ช้าเร็วได้ด้วยการยืดหดทรานสิชั่น
Flash
: เป็นไฟกระพริบภาพ
พร้อมแสงสีต่างๆ
ที่เราสามารถกำหนดสีกระพริบได้
wipe
: กวาดภาพเดิมออกไป
ดึงภาพใหม่เข้ามา ในรูปแบบต่างๆ
Movements:
หล่นลงมาเหมือนแผ่นดินไหว
2.
กลุ่มที่ให้ความรู้สึกเปลี่ยนแปลงช้าๆ
Object ผลักภาพซ้อนกันไปมา
Fade
in / Fade out การเลือนภาพไปสู่สีขาวสีดำ หรือการเลือนภาพสีดำเข้ามา ใช้ในการเปิดฉาก
Dissolve การเลือนภาพเข้าหากัน ใช้ในการร้อยเรื่องราวเดียวกันไปเรื่อยๆ
Blurs
in – out ใช้ร้อยเรียง จินตนาการ หรือกำลังคิดภาพขณะพูด
Ink
drops - เลือนภาพเข้าหากันแบบหมึกหยด
3.แสดงหลายๆภาพ
แบ่งเป็นช่องๆ
ให้เห็นภาพรวมก่อนเข้าเรื่องราว หรือในระหว่างการเปลี่ยนฉาก
Split
screen – แบ่งหน้าจอออกเป็นช่องๆ
ใส่ภาพได้หลายภาพ
Montage
Replicator
/ Clones ใส่ภาพเดียวแต่ออกมาหลายภาพ
Stylized
ภาพมีลูกเล่นด้วยการปาดสีเป็นช่องๆ
4.
การเปลี่ยนภาพด้วยใช้
สี แสง กราฟฟิค ให้ความรู้สึกตื่นเต้น
จินตนาการ แฟนตาซี
Flat
พื้นหลากสีสลับฉากไปมา
Color
สีสันต่างๆ
Flare
แสงแฟร์
Bokeh
โบเก้
เอฟเฟค
ส่วนการใช้เอฟเฟคผสมลงไปในภาพ ก็เป้นการสร้างเรื่องราวให้เหนือจินตนาการมากขึ้น
|